พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
1.หลักการสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (The Thai Electronic Transactions Act) พ.ศ. 2540เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ธุรกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรมโดยนำหลักการรับรองเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จากกฎหมายแม่แบบว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Signatures 2001) ของคณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศสหประชาชาติ (United Nations Commissions on International Trade Lew: UNCITRAL)
พระราชบัญญัติฯ นี้ประกอบด้วย 2ส่วน คือ ส่วนที่ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนที่ว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่ทั้งสองส่วนนี้นำหลักการสำคัญมาบัญญัติไว้ คือ
- หลักแห่งความเท่าเทียมกันระหว่างเอกสารในรูปแบบของกระดาษและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Functional Equivalent Approach)
กฎหมายให้การรับรองสถานภาพทางกฎหมาย (Legal Status) แก่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้มีสถานภาพทางกฎหมายเช่นเดียวกับเอกสารที่อยู่ในรูปแบบกระดาษ
- หลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality)
กฎหมายบางรัฐ เช่น กฎหมายของรัฐ Utha ให้การรับรองสถานภาพทางกฎหมายเฉพาะ (Specific Approach) เทคโนโลยีการเข้ารหัสโดยระบบกุญแจคู่ (public key cryptography) เท่านั้น
2. ขอบเขตการบังคับใช้ (Scope of Applicability)
- ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยทางธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติว่า “รพราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับใช้กับธุรกรรมทางแพ่งและทางพาณิชย์ที่ดำเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เล้นแต่จะได้รับการละเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังใช้บังคับแก่การดำเนินงานของรัฐด้วย”
- กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา (E-Sign Act) กฎหมายลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสหรัฐอเมริกาขยายขอบเขตของการยกเว้นการใช้บังคับของกฎหมายออกไป เช่น มาตรา 103 กำหนดว่าไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับกับสัญญาหรือเอสารใด ๆ ที่เกี่ยวกับพินัยกรรม
3. การรับรองสถานภาพทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Legal Status of Electronic Documents)
มาตรา 7 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และการพิจารณาว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าหลักเกณฑ์ว่ามีการทำเป็นหนังสือหรือไม่นั้น ตามมาตรา 8 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 9 กฎหมายกำหนดให้การใดต้องเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และนำกลับมาใช้ได้โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว ธุรกรรม ที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
4. การรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (Evidentiary Weight of Electronic Evidence)
มาตรา 11 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการตามกฎหมายในคดีแพ่ง คดีอาญาหรือคดีอื่นใด เพียงเพราะว่าเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จเชิ่อถือได้หรือไม่นั้น ให้พิเคราะห์ถึงความหน้าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีของการสร้าง การเก็บรักษาหรือการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการเก็บรักษาความครบถ้วนและการไม่เปลี่ยนแปลงของข้อมูล
6. การแสดงเจตนาในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Offer and Acceptance)
การแสดงเจตนาในรูปของข้อมูลอิเล็ทรอนิกส์ มาตรา 13 กำหนดว่า คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญาอาจจะทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมิให้มีการปฏิเสธทางกฎหมายให้การรับรองว่าคำเสนอคพสนองอาจกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่ว่าจะป็นข้อความในอีเมล์ (E-mail) ข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (SMS) ข้อความที่ติดต่อกันทาโปรแกรม MSN, Yahoo, Messageer, Camforg ไฟล์ข้อมูลที่ส่งผ่านเสียงโดยระบบ Bluetooth หรือข้อความเสียงที่มีการบันทึกไว้ทางโทรศัพท์หรอเครื่องรับฝากข้อความ (Voice Mail)
6. ข้อมูลซ้ำกัน (Double Transactions)
มาตรา 18 กำหนดว่า ผู้รับข้อมูลย่อมจะถือว่าข้อมูลที่แยกจากกันและสามารถดำเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชุดได้ เว้นแต่ข้อมูลทางอิล็กทรอนิกส์นั้นจะซ้ำกับข้อมลอิเล็กทรอนิกส์อีกชุดหนึ่งซึ่งผู้รับจะได้รู้อยู่แล้ว หากใชช้ความระมัดระวังตามสมควร กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้โดยผู้ประกอบการหรือเว็ปไซค์คิดค่าสินค้าหรอค่าบริการทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 2 ครั้ง สำหรับการทำรายการขายสินค้าหรือบริการรายการเดียว
7. เวลาที่ถือว่ามีการส่งและรับข้อมูล (Time of Dispatching and Receing)
มาตรา 22 กำหนดว่า การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล เช่น การส่งข้อความทางอิเมล์เมื่อกด Send แล้วด้านล่างขวาของหน้าจอจะปรากฏไฟสีเขียวที่แสดงว่า ข้อมูลกำลังถูกส่งไป ถ้าไฟสีเขียวยังไปไม่เต็มแท่ง แสดงว่าข้อมูลอยู่ระหว่างการส่ง ถ้าต้องการหยุด หรือยกเลิกกด Stop เพราะว่าข้อมูลยังไปไม่หมด
8. สถานที่รับและส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Place of Sending and Receiving Electronic Messages)
มาตรา 24 บัญญัติว่า”การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้ส่ง ณ ที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูล หรือได้รับ ณ ที่ทำการงานของผู้รับข้อมูลแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูลมีที่ทำการงานหลายแห่งให้ถือเอาที่ทำการงานเกี่ยวข้องมากที่สุดกับธุรกรรมนั้นเป็นที่ทำการงานเพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่งแต่ถ้าไม่สามารถกำหนดได้ว่าธุกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับที่ทำการงานแห่งใดมากที่สุดให้ถือเอาสำนักงานใหญ่เป็นสถานที่ที่ได้รับหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ในกรณีที่ไม่ปรากฏในที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูลให้ถือเอาถิ่นที่อยู่ปกติเป็นสถานที่ที่ส่งหรือได้รับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ความในมาตรานี้มิให้ใช่บังคับกับการส่งและการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการโทรเลขและโทรพิมพ์ หรือวิธีการสื่อสารอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา”
กรณีผู้ส่งและผู้รับมีที่ทำการหลายแห่ง เช่น นายเดลและนายไมค์ทำงานให้กับบริษัทเดลล์ที่กรุงเทพฯแล้ว ก็ยังต้องไปทำงานที่จีน สิงคโปร์ อีกด้วย กฎหมายให้ถือเอาที่ทำการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้นมากที่สุดเป็นที่ทำการงาน (The Place where is closely related to the transaction)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น